เมื่อวะฮาบีกลบการสังหาร “ฮุเซ็น” ด้วยกับการถือศีลอดในวันอาชูรอ

28

ฮะดีษอุปโลกน์ นบีให้ถือบวชวันอาชูรอ

เชคบินบาซ มุฟตีสูงสุดวะฮาบีประกาศฟัตวาให้ถือบวชวันอาชูรอโดยให้เหตุผลว่า ท่านนบีบอกมันคือวันที่ชาวยิวนั้นได้รับความช่วยเหลือรอดพ้นจากฟาโรห์จึงถือเป็นมุสตะฮับให้ถือบวช และเพื่อจะได้ไม่ทำตามแบบพวกยิว นบีจึงสั่งให้ถือบวชก่อนและหลังวันอาชูรอหนึ่งวัน

นั่นคือสาเหตุที่พวกวะฮาบีเชื่อว่าต้องถือบวชวันอาชูรอ ทว่าเมื่อตรวจสอบจากตำราของพวกเขาเองเราก็พบว่าฮะดีษศอแฮะเหล่านั้นกลับขัดกันเองจนไม่สามารถรวมกันหรือตีความเป็นอย่างอื่นไม่ใด้เลยนอกจากต้องสรุปว่ามันคือฮะดีษ ตอแหล เพราะหลักพื้นฐานง่ายๆก็คือท่านนบีนั้นจะไม่พูดกันเองและไม่ทำอะไรที่ขัดกับคำพูดของท่าน

๑ ฮะดีษศอแฮะบุคอรีเป็นสุนัต นบีให้ถือบวชวันอาชูรอ และนบีทำมาตั้งแต่อยู่มักกะฮ์

عَنْ عَائِشَةَ رضي الله عنها قَالَتْ: كَانَ يَوْمُ عَاشُورَاءَ تَصُومُهُ قُرَيْشٌ فِي الْجَاهِلِيَّةِ، وَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وسلم يَصُومُهُ، فَلَمَّا قَدِمَ الْمَدِينَةَ صَامَهُ، وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ، فَلَمَّا فُرِضَ رَمَضَانُ تَرَكَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ، فَمَنْ شَاءَ صَامَهُ، وَمَنْ شَاءَ تَرَكَهُ.

صحيح البخاري، ج 2، ص 250، ح 2002، كتاب الصوم، ب 69. باب صِيَامِ يَوْمِ عَاشُورَاءَ.

อาอีชะฮ์รายงานว่า พวกกุเรชถือบวชวันอาชูรอกันตั้งแต่สมัย ญาฮิลียะฮ์และนบีก็ถือบวชในวันนั้นเช่นกัน และเมื่อย้ายมาอยู่มะดีนะฮ์ท่านนบีก็ยังถือบวชวันอาชูรอและสั่งให้คนอื่นๆถือบวชด้วย กระทั่งการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนถูกกำหนดลงมาการถือบวชวันอาชูรอจึงถูกยกเลิกไป ซึ่งหลังจากนั้นใครจะถือบวชวันชูรอหรือจะไม่ถือก็ได้

ศอแฮะบุคอรี ๒/๒๕๐

๒ นบีไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการถือบวชวันอาชูรอและไม่เคยถือบวชวันอาชูรอในสมัยอยู่มักกะฮ์

อิมามบุคอรีในตำราศอแฮะของตนว่า

حَدَّثَنَا أَبُو مَعْمَرٍ حَدَّثَنَا عَبْدُ الْوَارِثِ حَدَّثَنَا أَيُّوبُ حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ سَعِيدِ بْنِ جُبَيْرٍ عَنْ أَبِيهِ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ – رضي الله عنهما – قَالَ قَدِمَ النَّبِيُّ – صلي الله عليه وسلم – الْمَدِينَةَ. فَرَأَي الْيَهُودَ تَصُومُ يَوْمَ عَاشُورَاءَ. فَقَالَ «مَا هَذَا». قَالُوا هَذَا يَوْمٌ صَالِحٌ. هَذَا يَوْمٌ نَجَّي اللَّهُ بَنِي إِسْرَائِيلَ مِنْ عَدُوِّهِمْ. فَصَامَهُ مُوسَي. قَالَ «فَأَنَا أَحَقُّ بِمُوسَي مِنْكُمْ». فَصَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ.

صحيح البخاري، ج 2، ص 251، رقم 2004.

เมื่อท่านนบีฮิจเราะฮฺมาถึงมะดีนะฮ์และเห็นว่าพวกยิวนั้นถือบวชวันอาชูรอจึงถามว่า ถือบวชทำมัยกัน? พวกยิวตอบว่า วันนี้คือวันดีอันจำเริญที่ชาวยิวใด้รับการช่วยเหลือจากอัลเลาะฮ์ให้รอดพ้นจากศัตรู(ฟาโรห์) ท่านนบีมูซาจึงทำการถือศีลอดชูโกร ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)จึงกล่าวว่า ฉันนั้นทรงสิทธิ์ในมูซามากกว่าพวกเจ้า (ยิว)เพราะรอดพ้นจากกาเฟรมักกะฮ์ที่ไล่ล่า) ท่านนบีจึงถือบวชวันอาชูรอและสั่งสาวกให้ถือตั้งแต่นั้นมา

ศอแฮะบุคอรี๒/๒๕๑

ฮะดีษสองบทนี้ขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในวันเวลาและสถานที่จึงไม่สามารถเชื่อถือใด้ บทแรกบอกนบีถือบวชตั้งแต่อยู่มักกะฮ์แต่บทที่สองกลับระบุว่า นบีไม่เคยรู้ว่ามีบวชวันอาชูรอ กระทั่งย้ายมาเห็นพวกยิวมะดีนะฮ์ถือกัน

๓ บวชวันอาชูรอถูกยกเลิกหลังจากบวชวาญิบถูกกำหนดในเดือนรอมฏอน

ฮะดีษศอแฮะบุคอรีบันทึกว่า

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رضي الله عنهما قَالَ: صَامَ النَّبِيُّ صلي الله عليه وسلم عَاشُورَاءَ، وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ، فَلَمَّا فُرِضَ رَمَضَانُ تُرِكَ. وَكَانَ عَبْدُ اللَّهِ لاَ يَصُومُهُ، إِلاَّ أَنْ يُوَافِقَ صَوْمَهُ.

 

صحيح البخاري، ج 2، ص 226، ح 1892،كتاب الصوم، باب وُجُوبِ صَوْمِ رَمَضَانَ.

อุมัรรายงานว่า ท่านนบีถือบวชวันอาชูรอและสั่งให้ทุกคนถือบวช ทว่าหลังจากถูกกำหนดให้ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน บวชวันอาชูรอจึงถูกยกเลิก และอับดุลลอ์ บินอุมัรก็ไม่เคยถือบวชในวันอาชูรอ นอกจากมันจะตรงกับบวชอื่นๆของเขาเช่น(บวชสุนักวันศุกร์,บวชแก้บนฯ)

ศอแฮะบุคอรี๒/๒๒๖

ฮะดีษบทนี้นั้นอาจสอดคล้องกับฮะดีษบทที่สองนั่นก็คือมันเคยเป็นการถือที่วาญิบมาก่อนแต่ถูกยกเลิกไปหลังจากถูกกำหนดให้ถือบวชในรอมฏอน แต่จะขัดแย้งตรงที่ว่าหลังจากนั้นไม่มีคำสั่งว่าบวชอาชูรอเป็นวาญิบหรือมุสตะฮับจากการกระทำของอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัร

๔ ศอแฮะบุคอรีบันทึกว่านบีสั่งอย่าทำให้เหมือนกับพวกยิว

เชค บินบาซ อุลามาวะฮาบีใหญ่ระบุว่านบีห้ามทำเหมือนพวกยิว

فقد ثبت عن النبي ﷺ أنه كان يصوم يوم عاشوراء، ويرغب الناس في صيامه؛ لأنه يوم نجا الله فيه موسى وقومه وأهلك فيه فرعون وقومه، فيستحب لكل مسلم ومسلمة صيام هذا اليوم شكرًا لله عز وجل، وهو اليوم العاشر من محرم، ويستحب أن يصوم قبله يومًا أو بعده يومًا؛ مخالفة لليهود في ذلك، وإن صام الثلاثة جميعًا التاسع والعاشر والحادي عشر فلا بأس؛ لأنه روي عن النبي ﷺ أنه قال: خالفوا اليهود صوموا يومًا قبله ويومًا بعده[1] وفي رواية أخرى: صوموا يومًا قبله أو يومًا بعده[2].

وصح عنه ﷺ أنه سئل عن صوم عاشوراء فقال: يكفر الله به السنة التي قبله[3].

……ท่านสั่งให้ถือบวชก่อนและหลังวันอาชูรอหนึ่งวันด้วยเพื่อจะได้ไม่เหมือนพวกยิว

๕ นบีชอบที่จะทำให้เหมือนกับพวกยิว

ศอแฮะบุคอรียืนยันว่านบีนั้นจะทำให้ตรงกับพวกยิวในสิ่งที่ยังไม่มีคำสั่งลงมา

وَكَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وسلم يُحِبُّ مُوَافَقَةَ أَهْلِ الْكِتَابِ فِيمَا لَمْ يُؤْمَرْ فِيهِ بِشَيْ ءٍ….

صحيح البخاري، ج 4، ص 269، ح 3558، كتاب المناقب، ب 23، باب صِفَه النَّبِيِّ صلي الله عليه وسلم

นบีนั้นมีความรักที่จะทำให้ตรงกับชาวคัมภีร์ศาสนายิวและคริสในสิ่งที่ยังไม่มีคำสั่งมา

ศอแฮะบุคอรี ๔/๒๖๙

ซึ่งฮะดีษบทนี้ก็ขัดแย้งกันกับฮะดษบทที่สี่เพราะรายงานว่านบีให้บวชก่อนและหลังหนึ่งวันเพื่อจะได้ไม่ตรงกับพวกยิว แต่ฮะดีษบทที่ห้ากลับบอกว่านบีรักที่จะทำให้มันตรงกับพวกยิว ซึ่งมันก็น่าคิดนะครับว่าท่านรับได้หรือที่นบีมุ่งมั่นจะทำให้เหมือนยิว ที่สำคัญฮะดีษทั้งสองบทศอแฮะ

๖ ไม่เคยมีหลักฐานระบุว่าชาวยิวถือบวชในวันอาชูรอ และปัจจุบันนี้เราก็ไม่เคยพบว่ามีชาวยิวเชื่อว่าควรถือบวชในวันอาชูรอ

๗ วันที่นบีเดินทางไปถึงมะดีนะฮ์นั้นคือเดือนรอบีอุลเอาวัลไม่ใช่เดือนมุฮัรรอม

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

ด้วยความขัดแย้งเละเทะเหล่านี้ทำให้ไม่มีฮะดีบทใดที่สามารถเชื่อถือได้ว่าท่านนบีสั่งให้ถือบวชในวันอาชูรอเลย เราจึงมันใจได้ว่าแท้จริงแล้วมันคือฮะดีษปลอมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาจากพวก บะนีอุมัยยะฮ์ ลูกหลานอะบูซุฟยาน ที่่เป็นศัตรูกับอิสลามและอะฮ์ลุลบัยต์นบีเพื่อกลบเกลื่อนเหตุการณ์ฆ่าสังหารฮุเซนและวงศ์วานของนบีที่กัรบาลาดังท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ)กล่าวไว้ว่า

بحار الأنوار – العلامة المجلسي – ج ٩٣ – الصفحة ٢٦٧

عن الحسين بن أبي غندر، عن أبيه، عن أبي عبد الله عليه السلام قال: سألته عن صوم يوم عرفة فقال: عيد من أعياد المسلمين، ويوم دعاء ومسألة،

قلت: فصوم يوم عاشورا؟ قال:

ذاك يوم قتل فيه الحسين عليه السلام، فإن كنت شامتا فصم. ثم قال: إن آل أمية عليهم لعنة الله ومن أعانهم علي قتل الحسين من أهل الشام، نذروا نذرا إن قتل الحسين عليه السلام وسلم من خرج إلي الحسين عليه السلام وصارت الخلافة في آل أبي سفيان، أن يتخذوا ذلك اليوم عيدا لهم، وأن يصوموا فيه شكرا، ويفرحون أولادهم، فصارت في آل أبي سفيان سنّة إلي اليوم في الناس، واقتدي بهم الناس جميعا، فلذلك يصومونه ويدخلون علي عيالاتهم وأهاليهم الفرح ذلك اليوم. ثم قال: إن الصوم لا يكون للمصيبة، ولا يكون إلا شكرا للسلامة، وإن الحسين عليه السلام أصيب، فإن كنت ممن أصبت به فلا تصم، وإن كنت شامتا ممن سرك سلامة بني أمية فصم شكرا لله تعالي.

อาชูรอคือวันที่ฮุซัยน์(อ)ถูกสังหาร หากเจ้าต้องการเยาะเย้ยก็จงถือศีลอด(วันอาชูรอ) พวกบะนีอุมัยยะฮ์ ละอฺนะตุลลอฮ์และเหล่าสมุนชาวเมืองชามที่ช่วยเหลือในการฆ่าฮุซัยน์นั้นทำการบนบานไว้ หากสามารถฆ่าฮุซัยน์ได้และผู้ที่ออกไปร่วมฆ่ากลับมาอย่างปลอดภัยพร้อมทั้งบัลลังก์คอลีฟะฮ์นั้นคงอยู่เงื้อมมือของวงศ์วานอะบูซุฟยาน ก็จะให้วันนั้นเป็นวันอีดวันดี ซึ่งพวกมันทำการถือศีลอดเพื่อขอบคุณอัลเลาะฮ์ และจะให้เด็กๆสนุกสนานรื่นเริง

ดังนั้นมันจึงกลายเป็นซุนนะฮ์แบบปฏิบัติของพวกอบูซุฟยานกระทั่งแพร่หลายสู่ประชาชนจนทุกคนจึงถือเป็นแบบฉบับตามพวกนั้น และนี่คือสาเหตุว่าทำมัยประชาชนจึงถือเอาอาชูรอเป็นวันอีดและถือศีลอด

วันนี้จึงไม่ใช่วันถือศีลอดของผู้ประสพเคราะห์กรรมมุศีบะฮ์ แต่มันเป็นวันถือศีลอดพวกบนีอุมัยยะฮ์เพื่อขอบคุณที่ปลอดภัย ในขณะที่ฮุซัยน์(อ)นั้นคือผู้ประสพมุศีบะฮ์ ดังนั้นหากเจ้าคือคนหนึ่งที่รู้สึกว่ากำลังประสพกับมุศีบะฮ์ความสูญเสียก็จงอย่าถือศีลอด

แต่หากเจาต้องการจะซ้ำเติม(อะฮ์ลุลบัยต์)และแสดงความยินดีกับพวกบะนีอุมัยยะฮ์ก็จงถือศีลอดเพื่อขอบคุณอัลเลาะฮ์เถิด

บิฮารุลอันวัร 93/267

บทความโดย อะบูอะวาอิล

www.q4wahabi.com