๑. มาตรว่าอัล-กุรอานเป็นซัยยิดุ้ลกะลาม อิมามฮุซัยนฺคือซัยยิดุชชุฮะดา
๒. ในศอฮีฟะฮฺสัจญาดียะฮฺกล่าวถึงอัล-กุรฺอานว่า “เป็นตราชั่งที่ทรงความยุติธรรม” ท่านอิมามฮุเซ็นฺ กล่าวว่า “ฉันได้กำชับพวกท่านในธำรงความยุติธรรม”
๓. มาตรว่าอัล-กุรอาน เป็นคำเตือนจากพระผู้เป็นเจ้า (موعظة من ربّكم) ท่านอิมามฮุเซ็น ได้กล่าวในวันอาชูรอว่า “لا تعجلوا حتّى اعظكم بالحقّ “พวกท่านไม่ต้อง รีบร้อน จนกว่าฉันจะเชิญชวนท่านด้วยสัจธรรมความจริง
๔. มาตรว่าอัลกุรฺอาน ได้ชี้นำมนุษย์ไปสู่ทางที่ถูกต้อง “يهدي الى الرشد ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) กล่าวว่า “ฉันจะขอเชิญชวนพวกท่านไปสู่สองทางที่ถูกต้อง”
๕. มาตรว่าอัล-กุรอาน นั้นคือความยิ่งใหญ่ ท่านอิมามฮุเซ็นคือผู้ที่มีอดีตที่ยิ่งใหญ่
๖. มาตรว่าอัล-กุรอาน คือความจริงอันเที่ยงแท้ ในซิยารัตอิมามฮุเซ็น(อ.) อ่านว่า “ท่านนั้นทำอิบาดะฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ และซื่อสัตย์จนกระทั่งถึงขั้นบรรลุธรรม”
๗. มาตาว่าอัล-กุรอาน คือชะฟาอ์ ให้การเยี่ยวยาและการอนุเคราะห์แก่สิ่งอื่นๆ
ท่านอิมามฮุเซ็นฺ อยู่ในฐานะของผู้ให้ชะฟาอัตเช่นกัน ในซิยารัตอาชูรอกล่าวว่า ขอให้เราได้รับชะฟาอัตของท่านอิมามฮุเซ็น(อ)
๘. ริวายะฮฺได้กล่าวว่า “อัล-กุรอาน คือสัญลักษณ์ของการช่วยเหลือ” ในซิยารัตท่านอิมามฮุเซ็น อ่านว่า “อิมามฮุเซ็น คือสัญลักษณ์ของการชี้นำ”
๙. อัล-กุรอาน เป็นผู้ให้การเยี่ยวยาแก่สิ่งอื่น ริวายะฮฺ กล่าวว่า “อัล-กุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นชะฟาอฺ” ขณะที่ตุรฺบัต(ดินกัรบาลา)ของ อิมามฮุเซ็น(อ) เป็นชะฟาอัตเช่นกัน”
๑๐. มาตรว่าอัล-กุรอาน เป็นคลังแห่งความรู้ ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) เป็นประตูแห่งความรู้ขององค์พระผู้อภิบาลเช่นกัน
๑๑. อัล-กุรอาน คือแบบอย่างในการกำชับความดี และห้ามปรามชั่ว ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) กล่าวว่า “เป้าหมายในการเดินทางไปกัรฺบะลาอฺ ของฉันเพื่อกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว”
๑๒. มาตรว่าอัล-กุรอาน เป็นนูรฺรัศมี (نورا مبينا) ท่านอิมามฮุเซ็น ก็เป็นนูรฺเช่นกัน ในซิยารัตอ่านว่า “ท่าน คือนูรฺ ที่ฝังอยู่ในไขสันหลังของผู้ที่มีความสูงส่ง.
๑๓. อัล-กุรอาน คือหลักฐานที่ชัดแจ้งสำหรับประวัติศาสตร์ และมวลมนุษย์ทั้งหลาย ดัง ริวายะฮฺ กล่าวว่า “พระองค์มิได้มอบให้อัล-กุรอานจำกัดอยู่แค่เวลาใดเวลาหนึ่ง และสำหรับประชาชาติใดเฉพาะ”เรื่องราวการสังหารท่านอิมามฮุเซ็น(อ.) อย่างโหดเหี้ยมในกัรฺบะลา ก็มิได้จำกัดอยู่แค่เวลาหนึ่ง แต่อยู่เหนือ มิติของประวัติศาสตร์
๑๔.มาตรว่าอัล-กุรอาน คือความจำเริญ “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้ามีความจำเริญ” การเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซ็น(อ.) เป็นสาเหตุของความจำเริญและการเติบโตของอิสลามเช่นกัน ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ พระองค์ได้นำความจำเริญแก่ข้าด้วยการสังหารเขา”
๑๕. อัล-กุรอาน นั้นปราศจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลง “กุรอานเป็นภาษาอาหรับ ไม่มีการเบี่ยงเบน” ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) ไม่เคยเบี่ยงเบนจากสัจธรรมไปสู่การหลงผิดแม้เพียงเสี้ยววินาที “ฉันไม่มีความปรารถนาที่จะออกจากความจริงไปสู่ความเท็จ”
๑๖. อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์อันทรงเกียรติเสมอ “นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ”
ท่านอิมามฮุเซ็น(อ.) คือเกียรติยศแห่งจริยธรรม “
๑๗. อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่ทรงพลัง “แท้จริงอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีอำนาจยิ่ง” ท่านอิมามฮุเซ็น (อ,) กล่าวว่า”ฉันจะไม่ก้มศีรษะให้กับความต่ำทรามอย่างเด็ดขาด”
๑๘. อัล-กุรอาน เป็นสายเชือกที่เหนียวแน่น ริวายะฮฺกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว อัล-กุรอาน สายเชือกอันมั่นคง” แท้จริง ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) “เป็นเรือที่ยังความปลอดภัย และเป็นสายเชือกที่มีความเหนียวแน่น”
๑๙. อัล-กุรอานเป็นเหตุผลที่ชัดแจ้ง “ได้มีมายังเจ้าคำอธิบายที่ชัดแจ้งจากพระผู้อภิบาลของเจ้า” ท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) เป็นเหตุผลที่ชัดแจ้งเช่นกันดังที่อ่านในซิยารัตว่า “ขอยืนยันว่าแท้จริงท่านเป็นคำอธิบายที่มาจากพระผู้อภิบาลของท่าน”
๒๐. มาตรว่าอัล-กุรอาน ต้อง อันเชิญด้วยความนอบน้อมเป็นจังหวะ “หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)”ในการซิยารัตหะรัมของท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) จำเป็นต้องทำด้วยความนอบน้อมอย่างช้าๆ และเรียบง่าย”
แน่นอนท่านอิมามฮุเซ็น (อ.) นั้นเป็นอัล-กุรอานที่พูดได้ และเป็นฉายาลักษณ์ของอัล-กุรอาน