หลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง
ความขัดแย้ง เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ตลอดอายุขัย ท่านอิมาม (อ.) ได้พยายามหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด บุคลิกภาพของท่านอิมาม แม้ว่าท่านจะยอมอ่อนข้อให้กับผู้ใดในเรื่องหลักความศรัทธาและการต่อสู้ แต่ท่านไม่เคยสร้างความแตกแยก หรือกระทำการใดที่นำไปสู่ความแตกแยกแม้แต่นิดเดียว เช่น ในหนังสือ กัชฟุลอัสรอร ท่านอิมามได้ตอบข้อครหาและคำใส่ร้ายของศัตรูที่มีต่อบรรดาอะอิมมะฮฺ (อ.) ผู้บริสุทธิ์ ท่านอิมามได้ประณามผู้ที่ปลิ้นสะดมสิทธิ์อันชอบธรรมของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) หรือในหนังสือพินัยกรรมประวัติศาสตร์ของท่าน จะเห็นว่าท่านอิมามได้เริ่มต้นเขียนพินัยกรรมด้วยฮะดีซซะเกาะลัยนฺ ซึ่งถือว่าเป็นการปกป้องสิทธิของอะฮฺบัยตฺ (อ.) อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถึงกระนั้นท่านอิมาม (รฎ.) ไม่เคยเข้าร่วมพิธีที่จัดขึ้นแล้วอ้างว่า เป็นอีดซะฮฺรอ เด็ดขาด บรรดาสาวกที่ใกล้ชิดกับท่านอิมาม กล่าวเหมือนกันว่าท่านอิมามไม่เคยเข้าร่วมพิธีกรรมใดที่เป็นสาเหตุนำไปสู่ความแตกแยก หรือสร้างความแตกแยกในสังคม หรือสร้างความแตกแยกในเรื่องอะฮฺกามอิลาฮี เช่นเดียวกันแม้ว่าท่านอิมามจะไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของบรรดาคุละฟาฮฺภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า อิมามปฏิเสธประเด็นที่จุดร่วมกัน เช่น อิมามกล่าวว่า เมื่ออุมัรต้องการจะเดินทางไปอียิปต์ หลังจากได้ตีแตกแล้วแต่ว่ามีอูฐอยู่แค่ตัวเดียว ซึ่งขณะนั้นมีท่านอุมัรและบ่าวร่วมทางอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนจึงสลับกันจูงและขี่อูฐจนถึงอียิปต์ ครั้นเมื่องใกล้จะเข้าอียปต์ถึงคิวที่บ่าวจะต้องขี่อูฐและท่านเคาะลิฟะฮฺต้องเป็นฝ่ายจูงอูฐ เมื่อเข้าอียิปต์ประชาชนได้แห่แหนมาต้อนรับเคาะลิฟะฮฺมากมาย สิ่งที่ต้องการกล่าวคือ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับในตัวเคาะลิฟะฮฺ แต่สิ่งที่เขาทำนั้นเป็นคำสอนของอิสลาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็เช่นเดียวกันครั้งหนึ่งท่านขี่ลาและมีบ่าวคนหนึ่งขี่ข้างหลังท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ถือโอกาสสอนศาสนาแก่เขา นี่คือคำสอนของอิสลาม ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูซิว่ามีผู้ปกครองทีอ้างตนว่าเป็นประชาธิปไตยคนใดบ้างที่กระทำเช่นนี้ พวกเขาเวลาจะเดินทางไปมาไหนมีทั้งบอดีการ์ดคอยคุมรักษาความปลอดภัย ทีทหารรักษาการและผู้ติดตามอีกจำนวนมาก พวกเขาจะไม่มีวันได้สัมผัสภาพความสวยงาม ฉะนั้น ผู้นำประชาธิปไตยจอมปลอมบนโลกนี้ เมื่อต้องการเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึ่ง ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าเขาเข้าประเทศนั้นอย่างไร แต่ผู้นำอิสลามเดินทางเข้าประเทศที่ยึดครองได้ กลับทำตัวสมถะเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มิหนำซ้ำท่านยังขี่อูฐขี่ลาเข้าประเทศนั้นอีกต่างหาก และขณะที่เดินทางไปถึงประเทศอียิปต์ท่านยังเป็นฝ่ายจูงอูฐอีกด้วย ซึ่งการกระทำของท่านได้สอนให้ทุกคนได้ประจักษ์ถึงความสมถะไม่แบ่งชั้นวรรณะ และสิ่งนี้คือคำสอนของอิสลาม[18]
เช่นเดียวกันในหนังสือ อันวารุลฮิดายะฮฺ ตอนกล่าวถึง เหตุผลของอัล-กุรอาน หลังจากได้พิสูจน์แล้วว่า อัล-กุรอานไม่ถูก สังคายนา ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ท่านได้เขียนจดหมายตอบ ผู้เขียนหนังสือฟัซลุลคิฏ็อบ ฟี ตะฮฺรีฟ อัลกิตาบ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง แต่ท่านได้อ้างอิงถึงริวายะฮฺที่อ่อนแอว่า ในอัล-กุรอานนั้นมีโองการและบทที่กล่าวสรรเสริญท่านอิมามอะลี (อ.) แต่นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺได้ตัดออกไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านับเป็นครั้งแรกทีท่านอิมาม โคมัยนี ได้กล่าววิภาษค่อนข้างรุนแรง ท่านอิมามหลังจากอ้างคำพูดของเขาแล้ว ท่านกล่าวว่า
“สำหรับบุคคลที่หนังสือของเขาไม่มีคุณค่าทางวิชาการ และการปฏิบัติ ซึ่งได้รวบรวมเฉพาะฮะดีซที่อ่อนแอ และบรรดาสาวกส่วนใหญ่ปฏิเสธหนังสือของเขา ผู้เป็นเจ้าของความคิดและทัศนะทางวิชาการเฉกเช่น มุฮัมมัดทั้งสาม (มุฮัมมัด ยะอฺกูลกุลัยนียฺ มุฮัมมัด อะลี บาวัยยะฮฺ และมุฮมัมัด ฮะซัน ฏูซียฺ) ซึ่งฉันเชื่อว่าทั้งสามท่านก็ต้องโยนหนังสือของเขาทิ้งอย่างแน่นอน หนังสือดังกล่าวได้รวบรวมเฉพาะริวายะฮฺ ที่อ่อนแอเท่านั้น เหมือนหนังสือ มุสตัดร็อกวะซาอิล ขออย่าได้ถามถึงหนังสือของเขาอีกเป็นอันขาด เพราะหนังสือของเขาได้รวบรวมเรื่องเล่าที่ตลกขาขันมากที่สุด ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเรื่องตลกโปกฮาเสียมากกว่าเรืองจริง เขาแม้ว่าจะเป็นนักวิชาการมีความรู้ แต่ชอบที่จะรวบรวมฮะดีซอ่อนแอ ประหลาด และน่าหัวเราะ ซี่งมมนุษย์ผู้มีสติปัญญาสมบูรณ์ส่วนใหญ่ไม่อาจยอมรับได้”[19]
ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) นั้นจะพยายามหลีกเลี่ยงทั้งคำพูดและการการะทำที่นำไปสู่ความแตกแยก ทั้งด้านความคิดและการกระทำ อีกทั้งส่วนตัวท่านยังต่อต้านแนวคิดเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า
“ทุกวันนี้มุสลิมแตกแยกกันในเรื่องตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของท่านอะลีอะมีรุลมุอฺมินีน ซึ่งถือว่าเป็นการทรยศอิสลามสิ้นดี”[20]
ดังนั้น จะเห็นว่าท่านอิมามคือผู้ต่อต้านความแตกแยก และให้ความสำคัญเรื่องความเป็นเอกภาพ และการร่วมมือกันของพี่น้องมุสลิม บางครั้งท่านอิมามให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าว ถึงขนาดที่ยอมพักอะฮฺกามบางอย่างของชีอะฮฺด้วยซ้ำไป เช่น ครั้งที่ท่านอิมามตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องฮัจญฺ ในการประกาศสาส์นถึงบรรดานักแสวงบุญทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า
“เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักแสวงบุญชาวอิหร่าน และชีอะฮฺในประเทศต่างๆ ที่ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำอันโง่เขลาบางอย่าง อันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่พี่น้องมุสลิม และเป็นความจำเป็นสำหรับพวกท่านที่จะต้องเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺกับพี่น้องซุนนีย์ หลีกเลี่ยงการนมาซที่บ้านพักและการวางดินนมาซโดยเด็ดขาด”[21]
ในอีกที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า “การวุกูฟทั้งสองในพิธีฮัจญฺ (อะเราะฟะฮฺและมัชอะริลฮะรอม) ให้ถือปฏิบัติตามกฎของอะฮฺลิซุนนะฮฺ แม้ว่าจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงก็ตาม”[22]
ท่านอิมามกล่าวว่า “ขณะที่อยู่ในมัสญิดนะบี และมัสญิดอัลฮะรอม เมื่อได้เวลานมาซ ผู้ศรัทธาต้องไม่เดินออกจากที่นั้น และต้องไม่หลีกเลี่ยงนมาซญะมาอะฮฺ ให้นมาซญะมาอะฮฺพร้อมกับพี่น้องมุสลิมคนอื่นๆ”[23]
ท่านอิมาม ไม่ได้เพียงออกฟัตวาในเรื่องนี้เท่านั้น ทว่าท่านคือตัวการในการขับเคลื่อนให้คำสั่งนี้ถูกดำเนินต่อไป เช่น ครั้นที่อิมามเดินทางออกจากนะญัฟไปยังประเทศคูเวต ท่านได้หยุดพักที่มัสญิดหลังหนึ่งใกล้เมืองบัศเราะฮฺ เวลานั้นตรงกับเวลาซุฮฺริชพอดี ท่านอิมามได้กล่าวแก่สหายร่วมทางว่า ในมัสญิดหลังนี้มีอิมามนำนมาซหรือไม่ เมื่อมีเสียงตอบว่า มี ท่านอิมามได้กล่าวว่า “ถ้าหากมีอิมามนำนมาซให้หยุดก่อนแล้วนมาซตามหลังอิมาม หรือไม่ก็ให้เดินทางผ่านตรงนี้ไปก่อนได้เวลานมาซ เมื่อถึงเวลานมาซแล้วต้องการนมาซคนเดียวถือว่าไม่ถูกต้อง”[24]
เช่นเดียวกันจะเห็นว่าท่านอิมามไม่เคยคิดตั้งพรรคการเมือง หรือกลุ่มเพื่อตนเอง และท่านก็ไม่ปล่อยให้ผู้ใดใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวจากท่านด้วย หรือจัดตั้งกลุ่มแล้วพาดพิงมาถึงท่าน เช่น ขณะทีท่านอิมามมาถึงสนามบินในเตหะรานหลังจากลี้ภัยการเมืองไปนานถึง 15 ปี ท่านได้ขึ้นระที่จัดเตรียมไว้แล้ว และในเวลานั้นมีชายคนหนึ่งนั่งอยู่ในรถด้วย เขาเป็นหัวหน้ากลุ่มๆ หนึ่งที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ท่านอิมามได้ขอร้องให้เขาลงโดยไม่อนุญาตให้คนอื่นขึ้นรถ นอกจาก ซัยยิดอะฮฺมัด บุตรชายเพียงคนเดียวเท่านั้น”[25]