ประเภทของการญิฮาดในอิสลาม

252

ประเภทของการญิฮาดในอิสลา

อุลามาอฺทั่วไป ได้แบ่ง ‘ญิฮาด’ ตามฮาดิษบทหนึ่งของท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อลฯ) ออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑. ญิฮาดุลอักบัร ✺ جهاد الاکبر ✺ คือ ญิฮาดที่ยิ่งใหญ่ เป็นการต่อสู้กับฮาวานัฟซฺของตัวเอง

๒. ญิฮาดุลอัสฆัร ✺ جهاد الاصغر ✺ คือ การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ เป็นการทำสงครามด้วยศาสตราวุธ อาทิ คมหอกและคมดาบ หรือการหลั่งเลือด เพื่อศาสนา แต่ญิฮาดุลอัสฆัร เป็นญิฮาดที่เล็กกว่า ญิฮาดุลอักบัร

ทว่าบรรดาอุลามาอฺที่เป็น ” อาริฟ ” หรือ ” เอาลียาของอัลลอฮ (ซบ.)” ได้แบ่งการญิฮาดออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑. ญิฮาดอักบัร(ระดับใหญ่)

๒.ญิฮาดเอาซัฏ(ระดับกลาง)

๓. ญิฮาดอัซฆัร(ระดับเล็ก)

คำอรรถธิบาย : โดยลดระดับให้ญิฮาดุลอักบัร และที่ญิฮาดกับฮาวานัฟซฺ ให้เป็น ” ญิฮาดุลเอาซัฏ ” ✺ جهاد الاوسط ✺(ญิฮาดระดับกลาง) คือ การต่อสู้ทางสติปัญญา

สาเหตุที่แบ่งให้เป็น “ญิฮาดุลเอาซัฏ ” ✺ جهاد الاوسط ✺(ญิฮาดระดับกลาง) เพราะบรรดาอาริฟได้กล่าวว่า การต่อสู้เพื่อเอาชนะฮาวานัฟซ์นั้น ยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่แท้จริง

ดังนี้แล้ว จึงถือว่า…✺ جهاد الاوسط ✺(ญิฮาดุลเอาซัฏ)เป็นเพียงญิฮาดที่อยู่ในระดับกลางเท่านั้น

ส่วนญิฮาดุลอักบัรที่แท้จริง ในทรรศนะของบรรดา’อาริฟ’ เหล่านี้ เป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะเหตุผลและสติปัญญาในการนับถือศาสนา คือ ไม่ใช้เหตุผล และสติปัญญา มาวางเป็นหลักในการนับถือ

นัยยะตรงนี้ ขอบอกว่า เป็นการญิฮาดที่มีความยาก เพราะ เป็นการต่อสู้เพื่อสลายตัวตน (ฟานะอฺ) นำไปสู่การเข้าใกล้ชิดต่ออัลลอฮ(ซบ) และเป็นสิ่งที่ไม่ใช่จะเข้าใจกันได้ทุกคน แต่พลังที่จะต่อสู้ใน”ญิฮาดุลอักบัร”นี้ คือ “ความรัก ”

ดังนั้น การนับถือศาสนา ต้องมาด้วยความรักที่บริสุทธิ์ ซึ่งพวกเราทุกคนก็เคยพูดและยอมรับว่า ความรักเมื่อเกิดขึ้นแล้ว บางครั้งมันไม่มีเหตุผล เพราะมีเรื่องราวในศาสนามากมาย ที่เหตุผลและสติปัญญาเข้าไปไม่ถึง

ฉะนั้น ด้วยความรักเท่านั้น ที่จะทำให้ความลับต่างๆ ในศาสนาถูกเปิดเผย และบุคคลที่จะเข้าสู่”ญิฮาดุลอักบัร”นี้นั้น เขาจะต้องเป็นผู้ที่มีชัยใน”ญิฮาดุลเอาซัฏ” ที่คนทั่วไปเรียกว่า”ญิฮาดุลอักบัร”ก่อน

เบื้องต้น ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า การญิฮาดในครั้งนี้ ศัตรูที่เราต้องพิชิตมัน คือ เหตุผล,ความคิด และสติปัญญา ทว่าในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ศาสนานี้ปฏิเสธเหตุผลและสติปัญญา

หมายเหตุ : ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

สาระศึกษา : เหตุผลที่เรายังเข้าใจไม่ได้ เพราะเรายังไม่มีชัยใน”ญิฮาดุลเอาซัฏ” หลายคนยังใช้นัฟซฺในการทำความเข้าใจศาสนา

ถึงแม้นว่าอาจจะมีบางคนมีชัยแล้วใน”ญิฮาดุลเอาซัฏ” ก็มิได้หมายความว่าเขาจะมีชัยใน”ญิฮาดุลอักบัร”

บางคน”ญิฮาดุลอัสฆัร”ก็ยังไม่เคยปฏิบัติ เช่น ความพร้อมที่จะพลีชีวิตและทรัพย์สินในหนทางของศาสนา ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว จึงห่างไกลเสียเหลือเกินที่จะเข้าสู่สนามของการ”ญิฮาดุลอักบัร”ได้

ตัวอย่างที่ชัดแจ้งที่สุด ที่จะทำให้เราพอเข้าใจได้บ้างใน”ญิฮาดุลอักบัร” ก็คือ การพลีที่กัรบาลาอฺ

โดยเฉพาะเหตุการณ์ในคืนอาชูรอ ที่อิมามฮูเซน (อ) ทั้งขอร้องและขอดุอาอฺให้ทุกคนผละจากท่านไป ทว่าวีรชนที่กัรบาลาอฺทุกคนกลับปฏิเสธคำขอนี้

แน่นอนถ้าใช้สติปัญญา มนุษย์ก็จะตัดสินว่า ถ้าเราจะจากไปก็ไม่เสียหายใดๆ เพราะอิมามฮูเซน(อ.) ก็ได้ดุอาอฺให้กับการจากไปของเราแล้ว

ดังนั้น การใช้สติปัญญาลักษณะนี้ จึงถือว่าอยู่เหนือ ” ชัรอีย์ ” (ข้อบังคับทางศาสนา)แล้ว ทว่าเมื่อความรักมีชัยเหนือเหตุผลและสติปัญญา…วีรกรรมอันอมตะ และยิ่งใหญ่อันนี้จึงเกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์

? ตัวอย่าง เรื่องราวของ” ญูน “

เมื่ออิมามฮูเซน (อ) ไม่อนุญาตให้ ‘ญูน’ ออกไปทำสงคราม เห็นได้ว่า ถ้า ‘ญูน’ ใช้เหตุผลและสติปัญญา ก็เพียงพอที่จะทำให้ ‘ญูน’ นั้นเอาชีวิตตนเองให้รอดไปได้ และไม่มีคำตำหนิใดๆ แล้วสำหรับ ‘ญูน’ ด้วยเหตุเพราะเมาลาไม่อนุญาตให้เข้าสนามรบนั่นเอง

ทว่า ‘ญูน’ กลับใช้น้ำตา ล้างเท้าอิมามฮูเซน (อ) เพื่อให้ได้ออกไปพลีในครั้งนี้

ซึ่งหากจะกล่าวโดยสรุป การกระทำครั้งนี้ของ ‘ญูน’ จึงไม่มีคำอธิบายใดๆ เว้นแต่ ‘ความรัก’

ดังนั้น เกี่ยวกับประเด็นนี้ ท่านอิมามอาลี(อ) ได้แสดงโวหารที่ตรึงใจและสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ซึ่งอยู่ใน “มุนาญาต ชะอฺบานียะห์” เป็นคำวิงวอนที่จะอ่านกันในทุกๆค่ำคืนของเดือนชะอฺบาน ความว่า…

“แม้พระองค์จะโยนฉันลงไปในนรก ฉันก็จะบอกชาวนรกให้รู้ว่าฉันรักพระองค์”

‎ان ادخلتني النار اعلمت اهلها اني احبك

 

? ธารธรรมโดย Saiyidsulaiman Husaini