ซูเราะฮ์นี้ถูกประทานลงมา ณ นครมักกะฮ์ (ถูกจัดอยู่ในประเภทซูเราะฮ์มักกียะฮ์ มี 8 โองการ )
“ตะกาษุร” แปลว่า การเพิ่มค่าอย่างมากมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่น การเพิ่มของทรัพย์สินเงินทอง บรรดาลูกๆ และทุกๆสิ่งที่ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจ และการรู้สึกอิ่มเอิบในการได้ขายสิ่งต่างๆ
“การค้าขายอย่างผู้โอ้อวด เป็นสิ่งต้องห้าม”
ชาวอาหรับที่มีตระกูลใหญ่โต พวกเขาจะถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ และ ทุกๆเผ่า ที่มีตระกูลใหญ่โตกว่าเผ่าอื่นๆ พวกเขาจะแสดงความโอ้อวดทันที ในเผ่ากุเรช และ ลูกหลานของอับดุลมะนาฟ และท่าน ซะฮ์มิ บิน อุมัร พวกเขาก็มีกระกูลที่ใหญ่โตเช่นกัน วันหนึ่งพวกเขาได้นับต้นตระกูลของพวกเขา และ ปรากฏว่าต้นตระกูลของ อับดุลมานาฟ มีมากกว่า ทำให้เขาต้องนำคนตายมารวมนับได้ และเมื่อนับในจำนวนของคนตายแล้วนั่นปรากฏว่าตระกูลของบนีซะฮ์มิ มีมากกว่า
เรื่องราวเหล่านี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในอดีต แต่ในยุคปัจจุบันก็สามารถพบเห็นได้และมีอยู่ตลอดมา ซึ่งพวกเขามักจะภาคภูมิใจในสิ่งที่ไร้คุณค่า
พระองค์อัลลอฮ์ทรงกล่าวถึงพฤติกรรมของชนชาติในอดีตว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมและเตือนว่าในวันกิยามัต มนุษย์จะถูกสอบถามในความโปรดปรานที่พระองค์ทรงให้ความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ ได้แก่ บรรดาศาสดา คัมภีร์ทั้งหลาย อายุขัย ความสุขสบาย ความฉลาด ความร่ำรวย และ อื่นๆ
ความโปรดปรานทั้งหมดนี้จะต้องถูกถาม อย่างแน่นอน
ดังโองการที่ว่า
بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَٰنِ الرَّحِيم أَلْهَاكُمُ التَّكَاثُرُ * حَتَّىٰ زُرْتُمُ الْمَقَابِرَ * كَلَّا سَوْفَ تَعْلَمُونَ * ثُمَّ كَلَّا سَوْفَ تَعْلَمُونَ * كَلَّا لَوْ تَعْلَمُونَ عِلْمَ الْيَقِينِ * لَتَرَوُنَّ الْجَحِيمَ * ثُمَّ لَتَرَوُنَّهَا عَيْنَ الْيَقِينِ * ثُمَّ لَتُسْأَلُنَّ يَوْمَئِذٍ عَنِ النَّعِيمِ
ด้วยพระนามของอัลลอฮ ผู้ทรงเมตตา ปราณียิ่ง
1. การสะสมเพิ่มพูนเพื่อโอ้อวดได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน
2. จนกระทั่งพวกเจ้าได้เข้าไปเยือนหลุมฝังศพ.
3. หามิได้ พวกเจ้าจะได้รู้
4. แล้วก็เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้
5. มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้าได้รู้อย่างถ่องแท้.
6. และแน่นอน พวกเจ้าจะได้เห็นไฟที่ลุกโชน.
7. แล้วแน่นอนพวกเจ้าจะได้เห็นมันอย่างประจักษ์.
8. แล้วในวันนั้น(วันแห่งการสอบสวน)พวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความสุขสำราญนี้
แปลและเรียบเรียงโดย เชค อัสการีย์